บันทึกอนุทินครั้งที่ 6
วิชาการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย(EAED3207)
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์จินตนา สุขสำราญ
วัน / เดือน / ปี 25 กันยายน 255
ความรู้ที่ได้รับ
วันนี้อาจารย์ให้นักศึกษาประดิษฐ์ ลูกยางกระดาษ
อุปกรณ์(equipment)
1.กระดาษ
2.กรรไกร
3.คลิปติดกระดาษ
วิธีทำ
1.ตัดกระดาษให้เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า
2.พับครึ่งกระดาษ
3.ตัดแนวยาวขึ้นมาครึ่งหนึ่งของกระดาษ
4.พับปลายสวนที่ไม่ได้ตัด
5.นำคลิปติดกระดาษมาติดปลายส่วนที่พับไว้
ผลงาน
ในการประดิษฐ์นี้เลียนแบบมาจาก ลูกยางนา
บทความ (article)
บทความที่ 1 แสงสีกับชีวิตประจำวัน
ในบทความนี้เพื่อนพูดถึงสีสามสีที่มารวมกันแล้วได้เป็นสีขาว คือการรวมสีของสีแดง สีน้ำเงิน สีเขียว
การมองเห็นสีต่าง ๆ บนวัตถุเกิดจากการผสมของแสงสี เช่น แสงขาวอาจเกิดจากแสงเพียง 3 สีรวมกัน แสงทั้ง 3 สี ได้แก่ แสงสีแดง แสงสีเขียว และแสงสีน้ำเงิน หรือเรียกว่า สีปฐมภูมิ และถ้านำแสงที่เกิดจากการผสมกันของสีปฐมภูมิ 2 สีมารวมกันจะเกิดเป็น สีทุติยภูมิ ซึ่งสีทุตยภูมิแต่ละสีจะมีความแตกต่างกันในระดับความเข้มสีและความสว่างของแสง ดังภาพ
บทความที่ 2 เงามหัสจรรย์
เงาคืออะไร เงาคือแสงเดินทางเป็นเส้นตรงเลี้ยงหรือเดินอ้อมไม่ได้ดังนั้นเมื่อแสงส่องมากระทบวัตถุที่ทึบแสง เช่น ตัวเรา แสงก็ไม่สามารถทะลุผ่านไปได้ จนเกิดเป็นเงาดำๆ คนละด้านกับแสงและมีรูปร่างคล้ายวัตถุนั้น นั่นก็คือเงา ซึ่งไม่เพียงแค่คนเท่านั้นที่มี แต่อะไรก็ได้ที่เป็นวัตถุทึบแสง เมื่อถูกแสงส่องลงมา ก็เป็นเงาได้เช่นกัน
บทความที่ 3 สอนลูกเรื่องอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมรรย์ต่อสมอง
จัดกิจกรรมปลูกฝังให้เด็กรักสิ่งแวดล้อม
บทความที่ 4 วิทยาศาสตร์ระดับปฐมวัย
คือให้เด็กสืบเสาะหาความรู้ด้วยตนเอง และลงมือกระทำการเรียนรู้ด้วยตนเอง
บทความที่ 5 การทดลองวิทยาศาสตร์
ตอบสนองธรรมชาติของเด็กจากการเล่นทักษะทางวิทยาศาสตร์
เขียนแผนการสอน 10 กลุ่ม
- ข้าว(Rice) - มะพร้าว (coconut) - ไก่ (chicken) - ผลไม้ (fruit)
- ต้นไม้ (tree) - กล้วย (banana) - น้ำ (water) - นม (milk)
- ปลา (fish) - กบ (frog)
กลุ่มดิฉัน - นม (milk)
อากาศ
อากาศคือ ส่วนผสมของก๊าซต่าง ๆ และไอน้ำซึ่งส่วนใหญ่ได้แก่ ก๊าซไนโตรเจน และก๊าซออกซิเจน นอกนั้นเป็นก๊าซอื่น ๆ ซึ่งมีอยู่เป็นจำนวนน้อย อากาศมีอยู่รอบ ๆ ตัวเราทุกหนทุกแห่ง ทั้งบนยอดสูงสุดของภูเขาและในที่จอดรถใต้ดิน อากาศมีอยู่ในบ้าน มีอยู่ในโรงเรียนและในรถยนต์ อากาศไม่มีสี ไม่มีรสชาติ และไม่มีกลิ่น
บรรยากาศคืออะไร
บรรยากาศคือ ชั้นของอากาศที่ล้อมรอบโลกและด้วยแรงดึงดูดของโลกทำให้บรรยากาศคงสภาพอยู่ได้ บรรยากาศมีความหนา 310 ไมล์ และมีถึง 4 ชั้น นักวิทยาศาสตร์แบ่งบรรยากาศออกเป็น 4 ชั้น ตามอุณหภูมิ ชั้นแรกมีชื่อเรียกว่า โทรโพสเฟียร์ (Troposhere) ชั้นสูงถัดจากโทรโพสเฟียร์ คือ ชั้นสตราโตสเฟียร์ (Stratoshere) เมโสสเฟียร์ (Mesosphere) และชั้นบนสุดคือ เทอร์โมสเฟียร์ (Thermoshere) อากาศในบรรยากาศแต่ละชั้นจะแตกต่างกัน แต่ในทุก ๆ ชั้นล้วนเป็นส่วนสำคัญของสิ่งแวดล้อมของโลก
บรรยากาศชั้นโทรโพสเฟียร์
เป็นชั้นบรรยากาศที่อยู่ใกล้โลกมากที่สุด มีความหนาประมาณ 12 กิโลเมตร เมฆ พายุ ลม และลักษณะอากาศต่าง ๆ เกิดขึ้นในบรรยากาศชั้นนี้ อุณหภูมิของบรรยากาศชั้นนี้จะเปลี่ยนแปลงบ่อยครั้งและรวดเร็วกว่าบรรยากาศชั้นอื่น ๆ
บรรยากาศชั้นสตราโตสเฟียร์
บรรยากาศชั้นสตราโตสเฟียร์ อยู่เหนือขึ้นไปจากบรรยากาศชั้นโทรโพสเฟียร์ มีความสูงของชั้นบรรยากาศประมาณ 50 กิโลเมตร บรรยากาศชั้นนี้มีก๊าซโอโซนเป็นส่วนประกอบอยู่ด้วย และก๊าซโอโซนนี้เองที่ทำหน้าที่ดูดซับรังสีอุลตราไวโอเลตจากดวงอาทิตย์ ซึ่งเป็นรังสีอันตรายต่อผิวหนังของมนุษย์และพืช ไม่ให้ส่องลงมากระทบถึงพื้นโลก
บรรยากาศชั้นเมโสสเฟียร์
เมโสสเฟียร์อยู่เหนือบรรยากาศชั้นสตราโตสเฟียร์ และอยู่สูงขึ้นไปไม่เกิน 85 กิโลเมตร บรรยากาศชั้นเมโสสเฟียร์เป็นชั้นที่มีอุณหภูมิต่ำสุด สะเก็ดดาวเป็นทางยาวจะปรากฎให้เห็นในระดับบน ๆ ของบรรยากาศชั้นเมโสสเฟียร์นี้
บรรยากาศชั้นเทอร์โมสเฟียร์
ชั้นบรรยากาศเทอร์โมสเฟียร์เริ่มในระดับ 85 กิโลเมตร เหนือพื้นโลกและสูงขึ้นไป ๆ จนจางหายไปในอากาศ อากาศกว่า 99% ของเราอยู่ใต้บรรยากาศชั้นเทอร์โมสเฟียร์ อากาศในชั้นนี้บางมาก และเพราะอากาศบางนี้เองที่ทำให้ได้รับผลกระทบจากแสงอาทิตย์แรงมาก จนมีผลทำให้อุณหภูมิของบรรยากาศชั้นนี้สูงมาก
เครื่องบินที่บินอยู่ในบรรยากาศจะบินอยู่ในบรรยากาศชั้นสตราโตสเฟียร์ เพื่อจะได้อยู่เหนือหิมะ พายุฝน และลมแรง
อากาศเป็นตัวนำคลื่นเสียง ถ้าไม่มีอากาศเราจะไม่ได้ยินเสียงดนตรี เสียงสุนัขเห่า หรือเสียงคนพูดคุยกัน อากาศยังใช้เคลื่อนย้ายสิ่งต่าง ๆ อากาศทำให้เรือใบแล่นข้ามทะเลสาบ ทำให้ใบกังหันของกังหันลมในท้องนาหมุน เราใช้อากาศในการเล่นว่าว เป่าลูกโป่ง และสูบลมลูกบอล เราทุกคนต่างใช้อากาศทำกิจกรรมต่าง ๆ มากมายในแต่ละวัน
มนุษย์หายใจเอาอากาศเข้าไปเพื่อมีชีวิตอยู่รอด เราทุกคนสามารถมีชีวิตรอดอยู่ได้เพียง 2-3 นาที เท่านั้นหากขาดอากาศหายใจ อากาศช่วยค้ำจุนชีวิตของพืชและสัตว์ที่อาศัยอยู่ในโลก อากาศในชั้นบรรยากาศยังช่วยปกป้องพืชบนโลกจากรังสีที่เป็นอันตรายของดวงอาทิตย์และจากความร้อนที่รุนแรง
ก๊าซแต่ละชนิดในอากาศล้วนมีความสำคัญทั้งสิ้นโดยแต่ละชนิดจะช่วยปกป้องสิ่งมีชีวิต ก๊าซทุกชนิดในอากาศจำต้องมีความสมดุล ตัวอย่างเช่นหากระดับของออกซิเจนในอากาศลดลงในทันที เราจะหายใจด้วยความยากลำบาก หากก๊าซต่าง ๆ ในอากาศขาดความสมดุล รังสีที่เต็มไปด้วยความอันตรายจากดวงอาทิตย์สามารถเข้าสู่บรรยากาศของเราได้อากาศภายในบ้าน
ท่านทราบหรือไม่ว่าอากาศภายในบ้านบางแห่งปรากฎว่า มีระดับมลพิษทางอากาศสูงกว่าอากาศภายนอก ซึ่งบางครั้งมีระดับมลพิษสูงเป็น 10 เท่าของมลพิษข้างนอก แม้แต่อากาศที่ท่านหายใจเข้าไปก็มีมลพิษแต่ไม่เพียงพอที่จะทำให้ท่านรำคาญหรือเจ็บป่วย อาคารทุกแห่งที่ไม่ได้มีการระบายลมที่ดี ซึ่งหมายความว่าอากาศไม่สามารถเคลื่อนตัวได้โดยรอบในอาคารสำนักงานใหม่ ๆ ไม่มีการเปิดหน้าต่างเพื่อให้อากาศบริสุทธิ์พัดผ่านเข้ามา นอกจากนี้ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดพลาสติก ยังพ่นละอองไอที่เป็นอันตราย หากสะสมในอากาศเป็นจำนวนมากจะทำให้เกิดอาการเจ็บป่วย
การประเมินหลังเรียน
ตนเอง = วันนี้เข้าเรียนตรงตอเวลา แต่งกายถูกระเบียบตั้งใจฟังอาจาย์บรรยายมีการทำสิ่งประดิษฐ์ลูกยางจากกระดาษ และในการเขียนแผนกลุ่มอาจารย์ได้ให้นำกลับไปแก้ไขซึ่งอาจารย์ก็ได้แนะนำไว้ในคาบเรียนแล้ว
เพื่อน = ตั้งใจเรียนฟังที่อาจารย์บรรยายให้ความร่วมมือในการตอบคำถาม
อาจารย์ = บรรยายพร้อมยกตัวอย่าง ร่วมกันอภิปรายกับนักศึกษาทำให้การสอนของอาจารย์เข้าใจง่ายมากขึ้นและแนะนำการเขียนแผนทุกกลุ่มให้กลับไปแก้ไข