วันศุกร์ที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2557

                                                บันทึกอนุทินครั้งที่ 5



วิชาการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย(EAED3207)
อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์จินตนา  สุขสำราญ
วัน / เดือน / ปี  18 กันยายน  255

ความรู้ที่ได้รับ

         วันนี้มีการประดิษฐ์เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์

   อุปกร์

1.กระดาษสี
2.ไม่ลูกชิ้น
3.เทปกาว

  วิธีทำ


1.พับกระดาษที่มีขนาดเท่ากระดาษ A4 แบ่งออกเป็น 4 ส่วน แล้วแบ่งกับเพื่อนคนละส่วนแล้วพับครึ่ง
2.วาดรูปสองข้าง ที่คิดว่าน่าจะมีความสัมพันธ์กัน
3.นำไม้ลูกชิ้นมาติดกับกระดาษ
4.นำเทปกาวมาติดให้ส่วนที่เราพับครึ่งนั้นติดกัน

  สิ่งที่ได้จากการประดิษฐ์ครั้งนี้คือ


- เมื่อเราหมุนกระดาษเราจะเห็นความสัมพันธ์ของรูปทั้งสองข้า้อนกลับมาจากวัตถุง เช่น ฝั่งหนึ่งวาดรูปถนน และอีกฝั่งหนึ่งวาดรูป รถ เมื่อเราหมุนภาพจะเหมือนกับรถยุบนถนน 


ความรู้ทีได้รับจากการชม VDO ความลับของแสง

 แสง Light 


        แสงLight เป็นคลื่นชนิดหนึ่้งเหมือนกับเคลื่อนในทะเลแต่จะเป็นคลื่นที่มีความยาวสั้นมาก แสงยังเคลื่อนที่ได้เร็วมาก 300000 กิโลเมตร / วินาที 

  แสงทำให้เรามองเห็นได้อย่างไร

        ที่เราสามารถมองเห็นวัตถุรอบๆตัวได้เพราะแสงลงมากระทบกับวัตถุต่างๆสาเหตุที่เรามองเห็นวัตถุรอบๆตัวนั้นนอกจากแสงจะต้องส่องลงมาโดนวัตถุแล้วยังจะต้องสะท้อนReflection.จากวัตถุนั้นมาหาตาของเราด้วยเราถึงจะมองเห็นวัตถุเช่นนั้นได้ซึ่งเท่ากับว่าตาของเรามีจอรับแสงที่สะท้อนกลับมาจากวัตถุนั้นเอง

  คุณสมบัติของแสง

- แสงเดินทางเป็นเส้นตรงอย่างเดียว

  วัตถุที่แสงส่องผ่านได้

    วัตถุบนโลกเมื่อมีแสงมากระทบจะมีคุณลัษณะต่างกัน3อย่าง


1. วัตถุโปร่งแสง  (Transparent objects.)
2.วัตถุโปร่งใส(Transparent objects.)
3.วัตถุทึแสง(Thue object light)

   สองแบบแรกจะมีลักษณะคล้ายกันคือแสงทะลุผ่านไปได้สำหรับวัตถุอีกแบบหนึ่งจะดูดกลืนแสงบางส่วนได้และสะท้อนแสงที่เหลือกลับสู่ตัวเราเรียกว่าวัตถุทึบแสง เช่น ไม้ หิน เหล็ก

  ประโยชน์ของแสง

- การเคลื่อนที่เส้นตรงของแสงนำมาเป้นภาพฉายกล้องแบบต่างๆ


การประยุกต์ใช้

     นำไปประยุกต์ใช้ในการสอนเกี่ยวกับวิทยาศาสร์สำหรับเด็กปฐมวัยได้ในอนาคต

การประเมินหลังเรียน


ตนเอง     =       วันนี้เข้าเรียนตรงตอเวลา แต่งกายถูกระเบียบตั้งใจฟังอาจาย์บรรยายมีการทำสิ่งประดิษฐ์


เพื่อน       =     ตั้งใจเรียนฟังที่อาจารย์บรรยายให้ความร่วมมือในการตอบคำถาม

อาจารย์    =    บรรยายพร้อมยกตัวอย่าง ร่วมกันอภิปรายกับนักศึกษาทำให้การสอนของอาจารย์เข้าใจง่ายมากขึ้น


วันเสาร์ที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2557

                                                  บันทึกอนุทินครั้งที่ 4



วิชาการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย(EAED3207)
อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์จินตนา  สุขสำราญ
วัน / เดือน / ปี  11 กันยายน  2557


ความรู้ที่ได้รับ


         วันนี้มีการนำเสนอบทความจากเพื่อนเลขที่ 1-5 แต่เพื่อนเลขที่ 4 ไม่มาวันนี้จึงได้ความรู้เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยจากเพื่อน 4 คน

         บทความของคนที่ 1 หลักสูตรวิทยาศาสตร์ปฐมวัย

         ความรู้ที่ได้จากบทความนี้ คือ  ครูปฐมวัยสอนในเนื้อหามากเกินไปโดยผ่านการบอกเล่า  มากกว่าที่จะให้เด็กเรียนรู้ตามธรรมชาติที่มีความอยากรู้อยากเห็น การเรียนรู้วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยไม่ได้มุ้งเน้นด้านเนื้อหา แต่มุ้งเน้นให้เด็กเรียนรู้กระบวนการด้านวิทยาศาสตร์

       บทความของคนที่2  5แนวทางสอนคิด เติม วิทย์ให้เด็กอนุบาล

            พูดถึงแนวทางในการสืบเสาะหาความรู้วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กอนุบาลมีอยู่ 5 แนวทางด้วนกัน

       1. ตั้งคำถามที่เด็กสามารถตรวจสอบได้ด้วยตัวเอง เช่น คำถามเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมรอบ ๆ ตัว หรือโลกของเรา
       
       2. ออกไปหาคำตอบด้วยกัน เนื่องจากคำถามในระดับเด็กอนุบาลมักจะเปิดกว้าง ดังนั้นการค้นหาคำตอบอาจมีครูคอยช่วยจัดประสบการณ์ให้เด็กตามที่เขาตั้งขึ้น
       
       3. เมื่อขั้นสองสำเร็จ เด็กจะเอาสิ่งที่เขาค้นพบมาไปตอบคำถามของเขาเอง ในขั้นนี้คุณครูอาจช่วยเสริมในแง่ของความครบถ้วนสมบูรณ์ หรือในด้านของเหตุและผล
       
       4. นำเสนอสิ่งที่เขาสำรวจตรวจสอบมาแล้วให้กับเพื่อน ๆ
       
       5. การนำสิ่งที่เด็กค้นพบคำตอบนั้นไปเชื่อมโยงกับคำอธิบายทางวิทยาศาสตร์

    บทความคนที่ท 3  
อพวช. ผนึกพันธมิตรจัดงาน "วันนักวิทยาศาสตร์น้อย" หวังปลูกความรักวิทยาศาสตร์เพื่อพัฒนาเด็กปฐมวัย
              อพวช คือ องค์การพิภิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ   พูดถึงเรื่องการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์จากสิ่งที่อยู่ใกล้ตัวของเด็ก  เรื่อง  ดิน  น้ำ  รม  และไฟ

บทความคนที่ 4 สอนลูกเรื่อง ภาวะโลกร้อน(Warming) การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ภาวะโลกร้อน

            คือให้เด็กทำกิจกรรมช่วยกันคัดแยกขยะ

 แนวคิดพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์

      การเปลี่ยนแปลง  -  ความแตกต่าง - การปรับตัว - การพึ่งพาอาศัยกัน - ความสมดุล

การศึกษาวิธีทางวิทยาศาสตร์

       ขั้นกำหนดปัญหา -> ขั้นตั้งสมมติฐาน -> ขั้นรวบรวมข้อมูล -> ขั้นลงข้อสรุป

เจตคติทางวิทยาศาสตร์
      - ความอยากรู้อยากเห็น
      - ความเพียรพยายาม
      -ความมีเหตุผล
      - ความซื่อสัตว์
     - ความมีระเบียบและรอบคอบ
     - ความใจกว้าง

ความสำคัญและประโยชน์ของวิทยาศาสตร์

    - ตอบสนอมต้องการของเด็ก
    - พัฒนาความคิดของเด็ก
    - พัฒนาทักษะ
    - สร้างความเชื่อมั่น

การประยุกต์ใช้

     นำไปประยุกต์ใช้ในการสอนเกี่ยวกับวิทยาศาสร์สำหรับเด็กปฐมวัยได้ในอนาคต

การประเมินหลังเรียน

ตนเอง     =       วันนี้เข้าเรียนตรงตอเวลา แต่งกายถูกระเบียบตั้งใจฟังอาจาย์บรรยายมีการนำเสนอบทความหน้าชั้นอาจพูดติดขัดบ้างเพราะจำเนื้อหาที่จะนำเสนอไม่ค่อยแม่นยำ

เพื่อน       =     ตั้งใจเรียนฟังที่อาจารย์บรรยายให้ความร่วมมือในการตอบคำถาม

อาจารย์    =    บรรยายพร้อมยกตัวอย่าง ร่วมกันอภิปรายกับนักศึกษาทำให้การสอนของอาจารย์เข้าใจง่ายมากขึ้น
 ร่วม


วันศุกร์ที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2557

                                                   บันทึกอนุทินครั้งที่ 3



วิชาการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย(EAED3207)
อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์จินตนา  สุขสำราญ
วัน / เดือน / ปี   4 กันยายน  2557

ความรู้ที่ได้รับ

     รูปแบบการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย

               การเรียนรู้ คือ การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม  มนุษย์เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมเพื่อดำรงชิวิต
การเรียนรู้ของเด็ก คือ การลงมือกระทำซึ่งเรียกว่าการเล่นแบบไม่เป้นทางการที่จะทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้ เปลี่ยนแปลงพฤติกรรม เครื่องมือที่เด็กใช้ในการเล่นคือ ประสาทสัมผัสทั้ง 5  ลงมือกระทำกับวัตถุอยากเป็นทางการและไม่เป็นทาการ


คุณลักษณะตามวัยของเด็กอายุ 3 – 5 ปี  ที่กำหนดไว้ในหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พ.. 2546  มีดังนี้ 

เด็กอายุ  ปี
เด็กอายุ  ปี
เด็กอายุ  ปี
พัฒนาการด้านร่างกาย
·        วิ่งและหยุดโดยไม่ล้ม
·        รับลูกบอลด้วยมือและลำตัว
·        เดินขึ้นบันไดสลับเท้าได้
·        เขียนรูปวงกลมตามแบบได้
·        ใช้กรรไกรมือเดียวได้
·        วาดและระบายสีอิสระได้







พัฒนาการด้านอารมณ์และจิตใจ
·        แสดงอารมณ์ตามความรู้สึก
·        ชอบที่จะทำให้ผู้ใหญ่พอใจและได้คำชม
·        กลัวการพลัดจากผู้เลี้ยงดูใกล้ชิดน้อยลง


พัฒนาการด้านสังคม
·        รับประทานอาหารได้ด้วยตนเอง
·        ชอบเล่นแบบคู่ขนาน (เล่นของเล่นชนิดเดียวกันแต่ต่างคนต่างเล่น)
·        เล่นสมมติได้
·        รู้จักรอคอย
พัฒนาการด้านร่างกาย
·        กระโดดขาเดียวอยู่กับที่ได้
·        รับลูกบอลได้ด้วยมือทั้งสอง
·        เดินขึ้นลงบันไดสลับเท้าได้
·        เขียนรูปสีเหลี่ยมตามแบบได้
·        ตัดกระดาษเป็นเส้นตรงได้
·        กระฉับการเฉยไม่ชอบอยู่เฉย







พัฒนาการด้านอารมณ์และจิตใจ
·        แสดงออกทางอารมณ์ได้เหมาะสมกับบางสถานการณ์
·        เริ่มรู้จักชื่นชมความสามารถและผลงานของตนเองและผู้อื่น
·        ชอบท้าทายผู้ใหญ่
·        ต้องการให้มีคนฟังคนสนใจ

พัฒนาการด้านสังคม
·        แต่งตัวได้ด้วยตนเอง ไปห้องส้วมได้เอง
·        เล่นร่วมกับผู้อื่นได้ รอคอยตามลำดับก่อน หลัง
·        แบ่งของให้คนอื่น
·        เก็บขอบเล่นเข้าที่ได้
พัฒนาการด้านร่างกาย
·        กระโดดขาเดียวไปข้างหน้าอย่างต่อเนื่องได้
·        รับลูกบอลที่กระดอนขึ้นจากพื้นได้ด้วยมือทั้งสอง
·        เดินขึ้นลงบันไดสลับเท้าได้อย่างคล่องแคล่ว
·        เขียนรูปสามเหลี่ยมตามแบบได้
·        ตัดกระกาษตามแนวเส้นโค้งที่กำหนด
·        ใช้กล้ามเนื้อเล็กได้ดี เช่น ติดกระดุม  ผูกเชือกรองเท้า ฯลฯ
·        ยืดตัว  คล่องแคล่ว

พัฒนาการด้านอารมณ์และจิตใจ
·        แสดงอารมณ์ได้สอดคล้องกับสถานการณ์อย่างเหมาะสม
·        ชื่นชมความสามารถและผลงานของตนเองและผู้อื่น
·        ยึดตนเองเป็นศูนย์กลางน้องลง


พัฒนาการด้านสังคม
·        ปฏิบัติกิจวัตรประจำวันได้ด้วยตนเอง
·        เล่นหรือทำงานโดยมีจุดมุ่งหมายร่วมกับผู้อื่นได้
·        พบผู้ใหญ่  รู้จักไหว้  ทำความเคารพ
·        รู้จักขอบคุณ  เมื่อรับของจากผู้ใหญ่
·        รับผิดชอบงานที่ได้รับมอบหมาย
เด็กอายุ  ปี
เด็กอายุ  ปี
เด็กอายุ  ปี
พัฒนาการด้านสติปัญญา
·        สำรวจสิ่งต่าง ๆ ที่เหมือนกันและต่างกันได้
·        บอกชื่อของตนเองได้
·        ขอความช่วยเหลือเมื่อมีปัญหา
·        สนทนาโต้ตอบ / เล่าเรื่องด้วยประโยคสั้น ๆ ได้
·        สนใจนิทานและเรื่องราวต่าง ๆ
·        ร้องเพลง ท่องคำกลอน  คำคล้องจองง่าย ๆ และแสดงท่าทางเลียนแบบได้
·        รู้จักใช้คำถาม อะไร
·        สร้างผลงานตามความคิดของตนเองอย่างง่าย ๆ
·        อยากรู้อยากเห็นทุกอย่างรอบตัว
พัฒนาการด้านสติปัญญา
·        จำแนกสิ่งต่าง ๆ ด้วยประสาทสัมผัสทั้งห้าได้
·        บอกชื่อและนามสกุลของตนเองได้
·        พยายามแก้ปัญหาด้วยตนเองหลังจากได้รับคำชี้แนะ
·        สนทนาโต้ตอบ / เล่าเรื่องเป็นประโยคอย่างต่อเนื่อง
·        สร้างผลงานตามความคิดของตนเองโดยมีรายละเอียดเพิ่มขึ้น
·        รู้จักใช้คำถาม ทำไม
พัฒนาการด้านสติปัญญา
·        บอกความแตกต่างของกลิ่น สี เสียง รส รูปร่าง  จำแนกและจัดหมวดหมู่สิ่งของได้
·        บอกชื่อ  นามสกุล  และอายุของตนเองได้
·        พยายามหาวิธีแก้ปัญหาด้วยตนเอง
·        สนทนาโต้ตอบ / เล่าเป็นเรื่องราวได้
·        สร้างผลงานตามความคิดของตนเองโดยมีรายละเอียดเพิ่มขึ้นและแปลกใหม่
·        รู้จักใช้คำถาม ทำไม”      “อย่างไร
·        เริ่มเข้าใจสิ่งที่เป็นนามธรรม
·        นับสิ่งต่าง ๆ จำนวนมากกว่า  10  ได้


ธรรมชาติของเด็กปฐมวัย

-    พอใจคนที่ตามใจ
-    มีช่วงความสนใจสั้น (8 - 10 )
-   สนใจนิทานและเรื่องราวต่างๆ
-   อยากรู้อยากเห็นทุกอย่างรอบตัว
-   แสดงท่าทงเลียนแบบ
-   ชอบที่จะทำให้ผู้ใหญ่พอใจและได้รับคำชม
-   ชอบถาม  ทำไม  ตลอดเวลา
-   ช่วยตนเองได้
-   ชอบเล่นแบบคู่ขนาน
-   พูดประโยคยาวขึ้น

สรุปหลักการศึกษาสำหรับเด็กปฐมวัย

-   พัฒนาเด็กให้ครบทุกพัฒนาการ
-   การเรียนรู้จากการคิดและการปฏิบัติจริง
-   เรียนรู้โดยผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5
-   พัฒนาทักษะการสังเกตุ

การประยุกต์ใช้

     นำไปประยุกต์ใช้ในการสอนเกี่ยวกับวิทยาศาสร์สำหรับเด็กปฐมวัยได้ในอนาคต

การประเมินหลังเรียน

ตนเอง     =       วันนี้เข้าเรียนตรงตอเวลา แต่งกายถูกระเบียบตั้งใจฟังอาจาย์บรรยาย

เพื่อน       =     ตั้งใจเรียนฟังที่อาจารย์บรรยายให้ความร่วมมือในการตอบคำถาม

อาจารย์    =    บรรยายพร้อมยกตัวอย่าง ร่วมกันอภิปรายกับนักศึกษาทำให้การสอนของอาจารย์เข้าใจงายมากขึ้น
 ร่วม


บทความ

5 แนวทางสอนคิด เติม"วิทย์"ให้เด็กอนุบาล

วิทยาศาสตร์เป็นยาขมสำหรับเด็ก ๆ จริงหรือ ? ถ้าเด็ก ๆ เรียนวิทยาศาสตร์ตั้งแต่ชั้นอนุบาลจะยากเกินไปไหม ? ควรจะให้เด็ก ๆ อนุบาลเรียนรู้วิทยาศาสตร์อย่างไร ? คำถามเหล่านี้ต่างพ่อแม่ผู้ปกครอง และแม้แต่คุณครูเองก็ยังสงสัยอยู่
      
       แท้จริงแล้ววิทยาศาสตร์คือความพยายามของมนุษย์ที่จะเรียนรู้และทำความเข้าใจกับสิ่งรอบตัวและตัวตนของตนเอง ซึ่งความพยายามเช่นนี้จะติดตัวกับมนุษย์เรามาตั้งแต่แรกเกิด เห็นได้จากธรรมชาติของเด็กที่มีความอยากรู้อยากเห็น ช่างสังเกตและคอยซักถามเกี่ยวกับสิ่งต่างๆ ที่พวกเขาเจอ และบางครั้งก็เป็นคำถามที่ยากเกินกว่าที่ผู้ใหญ่จะให้คำตอบ
       
       ผู้ใหญ่หลายคนที่ไม่เข้าใจในธรรมชาติความเป็นนักวิทยาศาสตร์ตัวน้อยๆ ของเด็ก จึงปิดกั้นโอกาสทางการเรียนรู้ของพวกเขาโดยการไม่ให้ความสนใจกับคำถามและการค้นพบแบบเด็กๆ หรือไม่ได้จัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่จะส่งเสริมและต่อยอดทักษะและแนวคิดที่ถูกต้องให้กับเด็กอย่างเหมาะสม ซึ่งนั่นทำให้การพัฒนาทักษะของเด็กต้องขาดตอนไปอย่างน่าเสียดาย
       
       ดร. วรนาท รักสกุลไทย นักการศึกษาปฐมวัย ผู้อำนวยการโรงเรียนเกษมพิทยา (ฝ่ายอนุบาล) กล่าวว่า "เราคงทราบดีกันอยู่แล้วว่าวิทยาศาสตร์มีความสำคัญเพียงใด แต่สำหรับเด็กอนุบาล แนวทางการสอนต่างหากที่จะทำให้เด็กสนใจ สิ่งสำคัญที่สุดคือครูต้องแม่นยำในพัฒนาการของเด็ก เพื่อที่จะสามารถจัดการเรียนรู้ได้สอดคล้องกับความสามารถของเด็ก รวมถึงต้องอย่าลืมเรื่องจินตนาการที่มีอยู่สูงในเด็กวัยนี้"
       
       ทั้งนี้ การส่งเสริมพัฒนาการของเด็กปฐมวัยในด้านวิทยาศาสตร์นั้น อาจไม่จำเป็นต้องแยกออกมาสอนเป็นวิชาวิทยาศาสตร์ และอาจไม่ต้องกล่าวคำว่าวิทยาศาสตร์เมื่อให้เด็กทำกิจกรรมเลยด้วยซ้ำ เพียงแต่ครูปฐมวัยควรจะตระหนักรู้ว่ากิจกรรมที่จัดให้กับเด็กในแต่ละช่วงเวลานั้น เป็นการส่งเสริมทักษะและแนวคิดทางวิทยาศาสตร์อะไรให้กับเด็กๆ และควรจะจัดกิจกรรมอย่างไรเพื่อจะสามารถตอบสนองและต่อยอดธรรมชาติการเรียนรู้ของเด็กได้อย่างเป็นระบบ
       
       ดร.เทพกัญญา พรหมขัติแก้ว นักวิชาการสาขาวิทยาศาสตร์ประถมศึกษา สสวท. กล่าวถึงแนวทางในการสอนวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กอนุบาลว่า "แนวทางของ สสวท.คือต้องการให้คุณครูบูรณาการวิทยาศาสตร์เข้าไปในการเรียนการสอนปกติของเด็ก ๆ ซึ่งครูและนักการศึกษาปฐมวัยอาจจะมีคำถามว่า จะต้องแยกวิทยาศาสตร์ออกมาเป็นอีกวิชาหนึ่งไหม จริง ๆ คือไม่ต้อง เพราะการเรียนรู้ในระดับปฐมวัยจะเน้นการเรียนรู้แบบองค์รวม ไม่ต้องแยกเป็นวิชา เพราะวิทยาศาสตร์คือกระบวนการการเรียนรู้ อยากให้คุณครูมองว่า มันคือการเรียนรู้ธรรมชาติรอบตัวของเด็กๆ"
       
       "สำหรับปัญหาที่พบในขณะนี้ก็คือ บางครั้งเด็กมีคำถาม แล้วครูตอบไม่ได้ เพราะเราก็ต้องเข้าใจครูปฐมวัยด้วยว่า อาจไม่มีพื้นฐานในสายวิทย์มากนัก ดังนั้นเมื่อครูเกิดตอบคำถามเด็กไม่ได้ก็จะเกิดหลายกรณีตามมา เช่น ครูบอกเด็กว่า เธออย่าถามเลย เด็กก็ถูกปิดกั้นการเรียนรู้ไปเสียอีก กับอีกแบบคือ ครูตอบคำถามเด็ก ซึ่งกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ควรจะเป็นการเรียนรู้ไปด้วยกัน ให้เด็กหาคำตอบด้วยตัวเอง ไม่ใช่รอให้ครูหามาป้อน และถ้าครูตอบผิด เด็กก็อาจจำไปผิด ๆ ได้"
       
       นอกจากนี้ ดร.เทพกัญญา ยังได้ให้แนวทางในการ "สืบเสาะความรู้ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็ก" อันประกอบแนวทางปฏิบัติ 5 ข้อดังนี้
       
       1. ตั้งคำถามที่เด็กสามารถตรวจสอบได้ด้วยตัวเอง เช่น คำถามเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมรอบ ๆ ตัว หรือโลกของเรา
       
       2. ออกไปหาคำตอบด้วยกัน เนื่องจากคำถามในระดับเด็กอนุบาลมักจะเปิดกว้าง ดังนั้นการค้นหาคำตอบอาจมีครูคอยช่วยจัดประสบการณ์ให้เด็กตามที่เขาตั้งขึ้น
       
       3. เมื่อขั้นสองสำเร็จ เด็กจะเอาสิ่งที่เขาค้นพบมาไปตอบคำถามของเขาเอง ในขั้นนี้คุณครูอาจช่วยเสริมในแง่ของความครบถ้วนสมบูรณ์ หรือในด้านของเหตุและผล
       
       4. นำเสนอสิ่งที่เขาสำรวจตรวจสอบมาแล้วให้กับเพื่อน ๆ
       
       5. การนำสิ่งที่เด็กค้นพบคำตอบนั้นไปเชื่อมโยงกับคำอธิบายทางวิทยาศาสตร์
       
       สำหรับข้อ 5 นั้น ดร.เทพกัญญากล่าวว่า ในระดับเด็กอนุบาลอาจยังไม่สามารถก้าวไปถึงจุดนั้นได้ อาจต้องเป็นเด็กชั้นประถมศึกษาขึ้นไป แต่คุณครูก็ไม่ควรละเลย หากมีเด็กอนุบาลบางคนเข้าใจ คุณครูก็อาจช่วยให้เขาสามารถอธิบายได้แบบวิทยาศาสตร์ แต่ถ้าไม่ถึงก็ไม่จำเป็นต้องเคี่ยวเข็ญเด็ก ๆ แต่อย่างใด
       
       ไม่เพียงแต่คุณครูและโรงเรียนที่จะเป็นผู้ส่งเสริมทักษะด้านวิทยาศาสตร์ให้กับเด็ก ๆ แต่พ่อและแม่เองนั้นก็มีบทบาทมากเช่นกัน แนวทางดี ๆ ข้างต้น อาจเป็นอีกหนึ่งตัวช่วยให้เด็ก ๆ และครอบครัวในยุคต่อไปเข้าใจ และรักใน "วิทยาศาสตร์" ได้มากขึ้นก็เป็นได้