บันทึกอนุทินครั้งที่ 4
วิชาการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย(EAED3207)
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์จินตนา สุขสำราญ
วัน / เดือน / ปี 11 กันยายน 2557
ความรู้ที่ได้รับ
วันนี้มีการนำเสนอบทความจากเพื่อนเลขที่ 1-5 แต่เพื่อนเลขที่ 4 ไม่มาวันนี้จึงได้ความรู้เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยจากเพื่อน 4 คน
บทความของคนที่ 1 หลักสูตรวิทยาศาสตร์ปฐมวัย
ความรู้ที่ได้จากบทความนี้ คือ ครูปฐมวัยสอนในเนื้อหามากเกินไปโดยผ่านการบอกเล่า มากกว่าที่จะให้เด็กเรียนรู้ตามธรรมชาติที่มีความอยากรู้อยากเห็น การเรียนรู้วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยไม่ได้มุ้งเน้นด้านเนื้อหา แต่มุ้งเน้นให้เด็กเรียนรู้กระบวนการด้านวิทยาศาสตร์
บทความของคนที่2 5แนวทางสอนคิด เติม วิทย์ให้เด็กอนุบาล
พูดถึงแนวทางในการสืบเสาะหาความรู้วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กอนุบาลมีอยู่ 5 แนวทางด้วนกัน
1. ตั้งคำถามที่เด็กสามารถตรวจสอบได้ด้วยตัวเอง เช่น คำถามเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมรอบ ๆ ตัว หรือโลกของเรา
2. ออกไปหาคำตอบด้วยกัน เนื่องจากคำถามในระดับเด็กอนุบาลมักจะเปิดกว้าง ดังนั้นการค้นหาคำตอบอาจมีครูคอยช่วยจัดประสบการณ์ให้เด็กตามที่เขาตั้งขึ้น
3. เมื่อขั้นสองสำเร็จ เด็กจะเอาสิ่งที่เขาค้นพบมาไปตอบคำถามของเขาเอง ในขั้นนี้คุณครูอาจช่วยเสริมในแง่ของความครบถ้วนสมบูรณ์ หรือในด้านของเหตุและผล
4. นำเสนอสิ่งที่เขาสำรวจตรวจสอบมาแล้วให้กับเพื่อน ๆ
5. การนำสิ่งที่เด็กค้นพบคำตอบนั้นไปเชื่อมโยงกับคำอธิบายทางวิทยาศาสตร์
บทความคนที่ท 3
อพวช. ผนึกพันธมิตรจัดงาน
"วันนักวิทยาศาสตร์น้อย"
หวังปลูกความรักวิทยาศาสตร์เพื่อพัฒนาเด็กปฐมวัย
อพวช คือ องค์การพิภิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ พูดถึงเรื่องการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์จากสิ่งที่อยู่ใกล้ตัวของเด็ก เรื่อง ดิน น้ำ รม และไฟ
บทความคนที่ 4 สอนลูกเรื่อง ภาวะโลกร้อน(Warming) การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ภาวะโลกร้อน
คือให้เด็กทำกิจกรรมช่วยกันคัดแยกขยะ
แนวคิดพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์
การเปลี่ยนแปลง - ความแตกต่าง - การปรับตัว - การพึ่งพาอาศัยกัน - ความสมดุล
การศึกษาวิธีทางวิทยาศาสตร์
ขั้นกำหนดปัญหา -> ขั้นตั้งสมมติฐาน -> ขั้นรวบรวมข้อมูล -> ขั้นลงข้อสรุป
เจตคติทางวิทยาศาสตร์
- ความอยากรู้อยากเห็น
- ความเพียรพยายาม
-ความมีเหตุผล
- ความซื่อสัตว์
- ความมีระเบียบและรอบคอบ
- ความใจกว้าง
ความสำคัญและประโยชน์ของวิทยาศาสตร์
- ตอบสนอมต้องการของเด็ก
- พัฒนาความคิดของเด็ก
- พัฒนาทักษะ
- สร้างความเชื่อมั่น
การประยุกต์ใช้
นำไปประยุกต์ใช้ในการสอนเกี่ยวกับวิทยาศาสร์สำหรับเด็กปฐมวัยได้ในอนาคต
การประเมินหลังเรียน
ตนเอง = วันนี้เข้าเรียนตรงตอเวลา แต่งกายถูกระเบียบตั้งใจฟังอาจาย์บรรยายมีการนำเสนอบทความหน้าชั้นอาจพูดติดขัดบ้างเพราะจำเนื้อหาที่จะนำเสนอไม่ค่อยแม่นยำ
เพื่อน = ตั้งใจเรียนฟังที่อาจารย์บรรยายให้ความร่วมมือในการตอบคำถาม
อาจารย์ = บรรยายพร้อมยกตัวอย่าง ร่วมกันอภิปรายกับนักศึกษาทำให้การสอนของอาจารย์เข้าใจง่ายมากขึ้น
ร่วม
ศึกษาแนวการสอนนะคะว่าครูประเมินอะไรบ้างBlog ครั้งที่4แล้วครูจะไม่บอกรายละเอียดในBlogนะคะ การสรุปมีความรู้ การประยุกต์ใช้แล้วยังมีอะไรอีกคะ คำศัพท์ภาษาอังกฤษไม่เป็นไปตามข้อตกลงนะคะ
ตอบลบ