วันศุกร์ที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2557


                                                  บันทึกอนุทินครั้งที่ 2


วิชาการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย(EAED3207)
อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์จินตนา  สุขสำราญ
วัน / เดือน / ปี   28 สิงหาคม 2557

  ความรู้ที่ได้รับ


วันนี้ดิฉันไม่ได้เข้าเรียนเนื่อจากติดการสัมภาษณ์ กยศ จึงได้ศึกษาข้อมูล blog จาก Thidarat  suttiphon

ความรู้ที่ได้รับ

            1.   เด็กปฐมวัย = พัฒนาการ
            2.   การเียนรู้ หรือ การเล่น
            3.   การอบรมณ์เลี้ยงดู

พัฒนาการ


     พัฒนาการ หมายถึง การศึกษาเรื่องลักษณะการเปลี่ยนแปลงในด้านโครงสร้างต่างๆของร่างกายที่เด็กแต่ละคนจะพัฒนาไปถึงรวมการเพิ่มของขนาดทางร่างกาย
     พัฒนาการ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดี ในทางที่พึงปรารถนาทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกาย อารมณ์ ทางสังคม  และทางสติปัญญา ซึ่งจะเกิดติดต่อกันไปเรื่อย ๆ จากระยะหนึ่งไปสู่อีกระยะหนึ่ง

พัฒนาการด้านสติปัญญา

·         การใช้ประสาทสัมผัสทั้ง การรับรู้ การซึมซับ
·         การเรียนรู้ = การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการเพื่อการมีชีวิตรอดในสังคม
·         การรับรู้ = ยังไม่มีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม

           คือ เป็นวัยที่สามารถใช้สัญลักษณ์แทนสิ่ง ของ วัตถุ และสถานที่ได้ เริ่มมีทักษะในการใช้ภาษาที่จะอธิบายสิ่งต่างๆ มีความคิดคำนึง มีความตั้งใจทีละเรื่อง และยังไม่สามารถจะพิจารณาหลายๆเรื่องรวมกันได้ นอกจากนี้เด็กวัยนี้ยังไม่มีความเข้าใจเกี่ยวกับความคงตัวของสสาร พัฒนาการทางด้านสติปัญญา เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับความคิดและความเข้าใจของเด็ก เป็นสิ่งที่สามารถพัฒนาให้ประสบความสำเร็จในอนาคตได้ ด้วยการที่พ่อแม่ไม่ปิดกั้นหนทางในการสร้างสรรค์ของเด็ก แต่ครอบครัวหรือผู้ใหญ่รอบตัวจะเป็นจุดเริ่มต้นที่จะสร้างแรงจูงใจให้เด็กมีความใฝ่รู้ ได้แสดงความสามารถ กล้าแสดงความคิดเห็น โดยปลูกฝังให้เด็กเป็นคนรู้จักคิด ฝึกให้สังเกตสิ่งรอบตัว ให้ความสนใจในสิ่งที่เด็กทำ ให้เด็กได้มีโอกาสเรียนรู้จากการลองผิดลองถูกในเรื่องต่างๆ ให้เด็กได้ฝึกคิดแก้ปัญหาต่างๆด้วยตัวเอง ทั้งนี้โดยอยู่บนพื้นฐานของการใช้เหตุผลและความถูกต้องเหมาะสม

การเล่น คือ 

          ด็กเรียนรู้จากธรรมชาติแห่งการดำรงชีวิต ไม่จำ เป็นต้องนั่งเขียน เรียน อ่าน คนเกิดมาพร้อมกับการรับรู้ผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5 ตาดู หูฟัง จมูกรับกลิ่น ลิ้นรับรส และผิวหนังรับสัมผัส สิ่งแวดล้อมรอบตัวตั้งแต่คลอดจากครรภ์มารดา เป็นสิ่งใหม่ทั้งหมด ที่กระตุ้นประสาทสัมผัสทั้ง 5 ตามธรรมชาติ และการกระตุ้น เช่น การเล่นโดยใช้ปากและสายตา เมื่อคุณแม่พูดคุยกับลูกน้อยขณะให้นมลูก ลูกส่งเสียง อืออา....อืออา....ตอบรับ การเล่นด้วยสายตากับของเล่นที่มีสีสันที่คุณพ่อคุณแม่แขวนให้ ลูกกลอกตาดูการแกว่งไกว เคลื่อนไหว



วิทยาศาสตร์ หมายถึง หมายถึง ความรู้เกี่ยวกับสิ่งต่างๆในธรรมชาติทั้งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิต รวมทั้งกระบวนการประมวลความรู้เชิงประจักษ์ ที่เรียกว่ากระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และกลุ่มขององค์ความรู้ที่ได้จากกระบวนการดังกล่าว


การประยุกต์ใช้  

    สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการสอนเกี่ยวกับวิทยาศาสร์สำหรับเด็กปฐมวัยได้ในอนาคต

การประเมินหลังเรียน

ตนเอง          ได้ความรู้จากเพื่อนและการค้นคว้าเพิ่มเต็มด้วยตนเอง

เพื่อน           ตั้งใจเรียนเก็บข้อมูลความรู้ที่อาจารย์ให้ได้ดีมาก

อาจารย์        ให้ความรู้อย่างเต็มที่


1 ความคิดเห็น:

  1. เมื่ออ่านของเพื่อนไม่เข้าใจอาจต้องอ่านจากเพื่อนหลายๆคนเพื่อสรุปแต่ถ้าอ่านแล้วยังไม่เข้าใจอีกอาจหาอ่านเพิ่มเติมจากเอกสารนะคะ ตรวจสอบแนวทางการประเมินนะคะมิเช่นนั้นเราจะรู้สึกเสียใจที่เราไม่ได้ตามที่เราหวังนะคะ

    ตอบลบ